Tag Archives: ประเทศพม่า

การแต่งกายของประเทศพม่า

Standard

สหภาพพม่า

พม่า เป็นชาติที่ไทยเรารู้จักกันมานาน ปัจจุบันพม่ามีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยจึงเรียกว่า “สหภาพพม่า” พม่ามีอาณาเขตใกล้เคียงกับไทย และสามารถ ติดต่อกันได้ทั้งทางบก น้ำและอากาศ สหภาพพม่ามีประชากรเป็นชนเชื้อชาติต่าง ๆ หลายเผ่า และเคยตกเป็นเมืองขึ้น ของอังกฤษ แต่วัฒนธรรมทางด้านศิลปะ ศาสนา และเครื่องแต่งกายก็ยัง มิได้เปลี่ยนแปลงไป

การแต่งกาย
เครื่องแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง ที่เรียกว่า “ลองยี” (Longeje) ซึ่งมีทั้งผ้าฝ้ายและไหมที่มีสีสด ของผู้หญิงจะมีลายเชิงด้านล่างและมีลวดลายเล็ก ๆ กระจายทั่ว ผืนผ้า ลวดลายของแต่ละท้องถิ่นจะต่างกัน ผ้าที่ทอมาจากเมืองอมรปุระเป็นลวดลายดอกไม้ เครือไม้ หรือเป็นดอกเป็นลายตามขวาง ไม่นิยมใช้เข็มขัด สวมเสื้อตัวสั้น คอกลม ผ่าอกติดกระดุม 5 เม็ด แขนกระบอกยาวจรดข้อมือ บางครั้งเป็นแขนสั้น เลยไหล่ลงมาเล็กน้อย ผ้าตัดเสื้อนิยมใช้ ผ้าเนื้อบาง สีสด เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าป่าน หรือผ้าไนลอน สวมรองเท้าคีบรองเท้าแตะ ทั้งหญิง ชาย แต่ของหญิงจะเป็นสี มีลวดลายเป็นดอกดวง ปักด้วยลูกปัด หรือดิ้น เงินดิ้น ทอง สะพายย่าม ซึ่งเป็นผ้าไหมสีสวยสดทอมาจากรัฐฉาน

ผม โดยทั่วไปไว้ผมยาวเกล้าสูง บางทีก็ปล่อยชายห้อยลงมาไว้ทางซ้ายบ้างขวางบ้าง มีดอกไม้แซมผม เครื่องประดับ นิยมหิน และพลอยที่มีค่าเช่น ทับทิม นิล และหยก

ชาย
เครื่องแต่งกาย นุ่งโสร่งเช่นเดียวกับหญิงแต่สีไม่ฉูดฉาด เป็นลายตาราง โตบ้าง เล็กบ้าง หรือเป็นลายทางยาวบ้าง โดยทั่วไปใส่เสื้อขาว เมื่อมีพิธีจะสวมเสื้อคล้ายเสื้อจีนแขนยาว ถึงข้อมือ แบบหนึ่ง เรียกว่า “กุยตั๋ง” เป็นเสื้อชายสั้น ๆ ติดดุมถักแบบจีนป้ายมาข้าง ๆ อีกแบบเรียกว่า “กุยเฮง” ตัวยาวถึงสะโพก และติดกระดุมตั้งแต่คอตรงมาจดชายเสื้อใช้สีสุภาพ เช่น ขาวดำ หรือ นวล ถ้าอากาศหนาวจะสวมเสื้อกัก ทอสักหลาดทับอีกชิ้น หนึ่ง จะสวมรองเท้าหุ้มส้นเมื่อมีพิธี

ผม ตัดผมสั้น ไม่นิยมสวมหมวก หรือโพกศีรษะตามประเพณีเดิม เมื่อมีพิธีจะมีผ้าหรือ แพรโพกศีรษะทำเป็นกระจุกปล่อยชายทิ้งไว้ทางด้านขวา นิยมใช้สีชมพู

ชาวพม่านิยมผลิตผ้าทอมือ แต่จะมีชาวเผ่าหนึ่งคือ พวก Yabeins แปลว่า ผู้ปลูกไหม ได้ ทอผ้าไหมที่มีลวดลายวิจิตรบรรจง เรียกว่า ผ้าตราหมากรุก (Check) นิยมทำกระโปรงแต่งงาน และเครื่องแต่งกายในพิธี ผ้าชนิดนี้จะมีเนื้อแน่น แข็งมาก ก่อนใช้ต้องนำไปแช่น้ำและทุบเสียก่อน เพื่อให้ผ้าเนื้อนิ่ม สีจะสวย ทนทาน นิยมใช้เป็นลองยีของสตรี ชาวพม่าได้เลียนแบบผ้าซิ่นผ้าไหมจากบางกอก เรียกว่า Bangkok lungis จะทอด้วยเส้น ไหมควบ นิยมทำสีอมเทา สีเหลืองอำพัน และสีเขียวทึม ๆ เป็นที่นิยมของสตรีพม่ามาก

การแต่งกายของประเทศพม่า

 

การแต่งกายของประเทศพม่า

ภาษาของประเทศพม่า

Standard

ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังคลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ ‘my’ และรหัส SIL คือ BMS

ภาษาถิ่นและสำเนียง

ภาษาพม่ามาตรฐานคือสำเนียงย่างกุ้ง ภาษาถิ่นในพม่าภาคเหนือและภาคใต้จะต่างจากภาษากลาง ภาษาถิ่นในเขตยะไข่หรืออารกัน ยังมีเสียง /ร/ แต่สำเนียงย่างกุ้งออกเสียงเป็น /ย/ ภาษาพม่าแบ่งอย่างกว้างๆได้ 2 ระดับ คือระดับทางการใช้งานวรรณคดี งานราชการและวิทยุกระจายเสียง ระดับไม่เป็นทางการใช้ภายในครอบครัวและกับเพื่อน พระภิกษุชาวพม่ามักพูดกันเองด้วยภาษาบาลี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา

อาหารของประเทศพม่า

Standard

ชาวพม่าทั่วไปนิยมบริโภคข้าวเจ้าเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับชาวไทยภาคกลาง ส่วนกับข้าวก็มีทั้งแกง ต้ม ผัด และน้ำพริก จึงดูคล้ายกับอาหารไทย เว้นแต่องค์ประกอบและรสชาติของอาหารจะแตกต่างจากอาหารไทยอยู่พอควร

กับข้าวพม่ามีองค์ประกอบเป็นเนื้อและผักนานาชนิด เนื้อที่นิยมบริโภคมีทั้งเนื้อแพะ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และปลา แต่เมื่อยามถือศีลคนพม่ามักงดอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อวัว ด้วยถือว่าวัวเป็นสัตว์ให้คุณใช้แรงงาน บ้างเชื่อว่าเนื้อวัวเป็นอาหารแสลง คนมีแผลหนองไม่ควรรับประทาน การเรียกชื่อเนื้อวัวก็เลี่ยงใช้เป็นอย่างอื่น คือ วัวเป็นๆจะเรียกว่า นวฺาหรือนัว  แต่เรียกเนื้อวัวว่า อะแมตา ซึ่งสะท้อนอิทธิพลฮินดูที่นับถือวัวยิ่งกว่าสัตว์อื่น ในบรรดาอาหารเนื้อนี้ ปลานับว่ามีราคาถูก และมักเป็นปลาน้ำจืด เช่น ปลาตะเพียน ปลาค้าว ปลากด ปลาหมอ ปลากระดี่ และที่นิยมกินกันมาก คือ งาตะเล่าก์   ซึ่งน่าจะเป็นปลาตะลุมพุก ไข่ปลาชนิดนี้ชาวพม่าถือเป็นอาหารชั้นดี ในประเทศพม่านั้นปลาเกือบทุกชนิดมีแต่ตัวใหญ่ๆ ปลาบางชนิดต้องแล่แบ่งขายเป็นท่อนๆ พม่าออกจะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ต่างจากไทยที่คนรุ่นหลังมักไม่ค่อยได้เห็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ในแม่น้ำลำคลองกันบ่อยนัก ในส่วนของปลาทะเลนั้น แถบย่างกุ้งแม้จะอยู่ไม่ห่างจากทะเลมากนักแต่ก็ไม่ค่อยพบอาหารทะเล และที่ว่าไปย่างกุ้งจะต้องกินกุ้งย่างอร่อยๆให้ได้นั้นเห็นจะต้องผิดหวัง เพราะไม่ค่อยเห็นมีกุ้งตัวใหญ่ๆวางขายในตลาดสดมากนัก พบแต่กุ้งตัวขนาดแค่คืบ นำมาทำแกงขายตกตัวละ ๔๐๐ จั๊ต ซึ่งนับว่าแพง นอกนั้นจะเป็นกุ้งแห้งกุ้งฝอย มีขายอยู่ในตลาดสดแทบทุกแห่ง

อาหารพม่า

หันมาดูพืชผักที่ชาวพม่านิยมบริโภคกันบ้าง ผักที่พม่าชอบกินก็มีเห็นๆอยู่ทั่วไปในเมืองไทย ที่พบขายอยู่บ่อย เช่น ใบกระเจี๊ยบแดง ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักชี ใบบัวบก กะหล่ำปลี ผักกาดหอม ที่เป็นพืชกินผล กินหัว กินเหง้า มีอาทิ มะเขือยาว มะเขือเทศ แตงกวา แตงร้าน น้ำเต้า มะรุม ลูกเนียง หัวผักกาดขาว มันฝรั่ง หยวกกล้วย หน่อไม้ แครอท และถั่วนานาชนิด พม่าไม่มีผัก “อนามัย” อย่างบ้านเรา ผักทุกชนิดที่ขายตามท้องตลาดมีระดับเดียวคือ “แบกับดิน” แต่ก็เป็นผักใหม่ สด อวบ น่ารับประทาน ส่วนใหญ่เป็นผักที่ใช้ปุ๋ยธรรมชาติใกล้ตัวแทบทั้งสิ้น แต่ไว้ใจได้ว่าปลอดสารพิษ บ้านพม่าส่วนใหญ่ตามชนบทหรือชานเมืองมักมีสวนครัวในบริเวณบ้านปลูกผักไว้กินเอง ที่พบบ่อยๆก็คือร้านน้ำเต้าลูกโตๆ สวนครัวจึงถือเป็นตลาดหลังบ้านสำหรับชาวพม่า จนมีคำพูดติดปากว่า “ปลูกร้านค้าไว้หลังบ้าน” แม้ไม่พึ่งตลาด ก็อยู่ได้สบาย

สำหรับพืชผักที่คนพม่าชอบกินเห็นจะเป็นผลน้ำเต้า ใบกระเจี๊ยบแดง และถั่ว น้ำเต้ากินได้ทั้งยอดและผล นำมาแกง ต้ม และทอดชุบแป้งกินเป็นของว่าง ส่วนใบกระเจี๊ยบปรุงเป็นอาหารได้ทั้งต้มและผัด หากต้มจะเรียกว่า ฉี่งบ่องฮีงโฉ่  หรือนำมาผัด เรียกว่า ฉี่งบ่องจ่อ ใบกระเจี๊ยบจัดได้ว่าเป็นอาหารประจำสำรับ ช่วยเจริญอาหาร และแก้เลี่ยนไปในตัว สำหรับถั่วนั้นเป็นพืชเกษตรเช่นเดียวกับข้าว พม่านิยมบริโภคถั่วถึงราว ๒๐ ชนิด อาทิ ถั่วลิสง ถั่วแขก ถั่วเนย ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วผีเสื้อ เป็นต้น พม่าปลูกถั่วกันมากทางตอนบนของประเทศ คนพม่านำถั่วมาปรุงอาหารได้สารพัดอย่าง ทั้งแกง ต้ม ผัด คั่ว หมัก และทำเป็นน้ำมันปรุงอาหาร หากเยือนพม่าแล้วไม่ได้กินถั่ว หรือพลาดลิ้มรสน้ำเต้าและใบกระเจี๊ยบ ถือว่ายังตีไม่ถึงท้ายครัวพม่า

อาหารพม่า

สิ่งที่อาหารชาติไหนๆมักขาดไม่ได้ก็คือเครื่องปรุงรส การปรุงอาหารให้มีรสชาติและมีกลิ่นหอมชวนกิน พม่าจะใช้น้ำมัน เกลือ หัวหอม และกระเทียมเป็นเครื่องปรุงหลัก และใช้ขิง ตะไคร้ ผักชี ใบแมงลัก ใบมะขาม มะนาวหลวง(พม่าเรียกเช่าก์ตี่) ผงกะหรี่ พริก น้ำปลา ซีอิ๊ว ปลาร้า กะปิ ถั่วเน่า และปลาแห้งเป็นเครื่องปรุงเสริมตามชนิดของอาหาร อาทิ แกงสี่เบี่ยง มีหน้าตาคล้ายแกงฮังเลของไทยภาคเหนือ และคล้ายแกงมัสมั่นของแขก พม่านิยมใส่ขิงเป็นเครื่องปรุงสำคัญ แต่จะไม่ใส่เครื่องเทศมากมายอย่างแกงแขก สำหรับแกงฮีงเล ของพม่าที่ฟังชื่อคล้ายกับแกงฮังเลของคนเมืองกลับมีหน้าตาเหมือนแกงโฮะ ไม่ทราบว่าเป็นด้วยเพราะเหตุใด

คนพม่าไม่กินใบกะเพรา แต่จะกินเฉพาะใบแมงลัก ใบกะเพรานั้นพม่าถือเป็นอาหารสำหรับวัวเท่านั้น คนพม่าจึงมักแปลกใจที่คนไทยนิยมกินใบกระเพา ทำนองเดียวกัน คนไทยทั่วไปจะเห็นแกงไข่ต้มของพม่าเป็นของแปลกเช่นกัน ส่วนมะนาวนั้นพม่ากินกันน้อยเพราะราคาแพงพอๆกับไข่ไก่ คนพม่าจึงใช้มะนาวหลวงซึ่งมีลูกโตกว่าและให้น้ำได้มากกว่ามะนาวควายอย่างที่ไทยนิยม นอกจากนี้ก็ใช้ใบมะขามหรือมะขามเปียกเพิ่มรสชาติด้วยเช่นกัน เครื่องปรุงอีกชนิดที่อดพูดถึงไม่ได้คือ ผงชูรส หรือที่พม่าเรียกว่า อะโฉ่-ฮม่ง แปลตามศัพท์ได้ว่า “ผงหวาน” หากกินอาหารพม่าก็ยากที่จะเลี่ยงผงชูรส เพราะเห็นทั้งแม่ค้าและแม่ครัวชอบปรุงอาหารด้วยผงชูรสกันทีละมากๆ กับข้าวทุกชนิดไม่ว่าจะต้มยำทำแกงอะไรก็ใส่ผงชูรสจนสิ้น แม้แต่โรยคลุกข้าวกินก็มี ที่น่าสนใจคือชาวพม่าจะใช้ผงชูรสประกอบในเครื่องเซ่นเจ้าที่ ส่วนน้ำปลานั้นทางพม่ามีเหมือนไทย นิยมขายเป็นแกลลอนหรือเป็นถุง มีทั้งน้ำปลาชนิดน้ำใสและชนิดน้ำขุ่นจนดำสนิท พม่าเรียกน้ำปลาว่า หงั่งปยาเหย่ ฝ่ายพม่าเชื่อว่าน่าจะเป็นคำไทยประสมคำพม่า มีคำว่า เหย่ เท่านั้นที่เป็นคำพม่า แปลว่า “น้ำ” ส่วน หงั่งปยา เชื่อว่าคงจะเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า น้ำปลา ของไทย

อาหารพม่า

สัญลักษณ์ ธงชาติประเทศพม่า

Standard

ธงชาติสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า  มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ธงนี้ได้เริ่มชักขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ในเวลา 15.00 น. ที่กรุงเนปีดอ และในเวลา 15.33 น. ที่อาคารศาลาว่าการนครย่างกุ้ง (อ้างอิงตามเวลาท้องถิ่น) อันเป็นเวลา 17 วัน ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของพม่า ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน  ความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ

ประวัติ
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้

ในอดีตอาณาจักรพม่าสมัยราชวงศ์อลองพญาได้ใช้ธงพื้นขาวกลางมีรูปนกยูงเป็นธงชาติ เมื่อพม่าตกเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรอังกฤษโดยผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2428 ธงชาติสหราชอาณาจักรจึงถูกชักขึ้นเหนือดินแดนพม่า

ต่อมาเมื่อพม่าแยกเป็นอาณานิคมโดยตรงอีกแห่งหนึ่งต่างหากจากอินเดียในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลสหราชอาณาจักรอังกฤษจึงกำหนดให้ใช้ธงเรือรัฐบาล (Blue Ensign) มีตรานกยูงในวงกลมอยู่ด้านปลายธงเป็นธงประจำดินแดน ซึ่งจะต้องต้องชักคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรอยู่เสมอ สำหรับธงผู้ว่าการแห่งสหภาพพม่า เป็นรูปแบบธงยูเนียนแจ๊คมีตรานกยูงในวงกลมอยู่กลางธง

หลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 จึงได้มีการกำหนดแบบธงชาติพม่าใหม่ ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง ที่มุมบนด้านคันธงเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก ภายในพื้นสีน้ำเงินนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 1 ดวง ล้อมรอบด้วยดาวสีขาวดวงเล็กอีก 5 ดวง ดาวดวงใหญ่หมายถึงสหภาพพม่า ดาวดวงเล็กทั้ง 5 หมายถึงชาวพม่า ชาวไทใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ชาวชิน และชาวคะฉิ่น ส่วนสีขาวนั้นหมายถึงความซื่อสัตย์ ธงนี้ได้รับการรับรองด้วยรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพพม่า ฉบับลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2490 และชักขึ้นเหนือแผ่นดินพม่าครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 เวลา 4.25 น.

สัญลักษณ์ ธงชาติประเทศพม่า